วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

panitplane

บริษัทที่ผลิตเครื่องบินพานิชย์ที่ใช้ขนส่งทั่วโลก
ในขณะนี้มีอยู่ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่คือ


โบอิ้ง (The Boeing Company)
เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและยุทโธปกรณ์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ชิคาโก
มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา โบอิงนับเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินที่มีรายได้มากที่สุดในโลก
และเป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์อันดับสองของโลก



บริษัทแอร์บัส (Airbus S.A.S.) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินในเมืองตูลูส (Toulouse)
ประเทศฝรั่งเศส แอร์บัสเกิดจากการรวมตัวของผู้ผลิตเครื่องบินและยุทโธปกรณ์รายใหญ่ของยุโรป 2 ราย
คือ European Aeronautic Defence and Space Company (EADS) (80%) และ BAE Systems
(British Aerospace) (20%) แอร์บัสมีพนักงานกว่า 4 หมื่นคน และมีโรงงานหลายแห่งในทวีปยุโรป


เครื่องบินโดยสารส่วนใหญ่แล้วทุกชาติล้วนแต่ซื้อเครื่องมาจากสองบริษัทนี้ เราลองมาดูกันว่า
ข้อแตกต่างที่มองเห็นได้ชัดของทั้งสองบริษัท แม้ว่าจะออกแบบมาในรุ่นใด ๆ ก็ตามก็ยังคง
เป็นเอกลักษณ์ให้เราทราบว่า เครื่องใดเป็นแบบ Boing และเครื่องใดเป็นแบบ Airbus  ดังนี้


ภาพนี้เป็นการเจิมเครื่องบินแบบแอร์บัส ชื่อ สุชาดา


ภาพนี้เป็นเครื่องบินแบบโบอิ้ง ชื่อ กาฬสินธุ์


เมื่อนำเครื่องทั้งสองลำมาเปรียบเทียบกันก็จะเห็นได้ชัดดังนี้ครับ

เครื่องแอร์บัสชื่อ สุชาดา  ให้ท่านมองไปที่กระจกหน้าของเครื่องบิน
บานท้ายสุดที่ติดกับลำตัวเครื่องใกล้เครื่องหมาย สตาร์ อัลไลแอนซ์
ด้านบนจะมีลักษณะเป็น เหมือนถูกตัดออกไป ทำให้เกิดรูปห้าเหลี่ยมด้านไม่เท่า
ซึ่งเครื่องแอร์บัสจะเป็นเช่นนี้ทุกรุ่น นอกจากนั้นสัญญลักษณืของแอร์บัสก็คือ ลักษณะคล้าย
หัวลูกศร ติดอยู่ที่ปลายปีหน้าทั้งสองข้าง แม้แต่ A380 ก็ยังมีลักษณะเช่นนี้ปรากฏอยู่


เครื่องโบอิ้งชื่อ กาฬสินธุ์ ให้ท่านมองไปที่กระจกหน้าของเครื่องบิน
บานสุดท้ายที่ติดกับลำตัวเครื่องใกล้เครื่องหมาย สตาร์ อัลไลแอนซ์
จะมีลักษณะเป็น รูปสี่เหลื่ียมด้านไม่เท่า ซึ่งเครื่องโบอิ้งจะเป็นเช่นนี้ทุกรุ่นเช่นกัน



กระจกทั้งด้าน ซ้าย-ขวา ของเครื่องบินแต่ละลำจะเหมือนกันทุกประการ

Boeing 777-200



ภาพเครื่องบินรุ่น Boeing 777-200 ปัจจุบันยังคงมีใช้บินประจำการ
ที่การบินไทย ความจุผู้โดยสาร 309 ที่นั่ง และ 292 ที่นั่ง ปัจจุบันมีประจำการอยู่จำนวน 13 ลำ
โดยใช้บินประจำการยังเมืองต่อไปนี้

โอซากา,มะนิลา,ไทเป-โซล,โซล,กาฏมัณฑุ,เดลลี,เชียงใหม่ ฮ่องกง-โซล มิลาน, บริสเบน, มอสโคว,
โอ๊คแลนด์, ซิดนีย์, โตเกียว, โตเกียว-ภูเก็ต,เอเธนส์,โจฮันเนสเบิร์ก ,สิงคโปร์,ดูไบ


Boeing 777-300 และ 777-300 ER


สภาพภายในเครื่องบิน Boeing 777-200,777-300
777-300ER ความจุผู้โดยสารได้เต็มที่ 364 ที่นั่ง
รุ่น Boeing 777-200,777-300 มีประตูฉุกเิฉินข้างละ 4 ประตู
ส่วน Boeing 777-300 ER มีประตูฉุกเฉินข้างละ 5 ประตู

เครื่องบินรุ่น Boeing 777-300
และ 300ER การบินไทยมีรวมทั้งสิ้น 9 ลำ ใช้บินไปยังเมืองต่าง ๆ คือ

โบอิง 777-300 เมลเบิร์น, โซล , จากาตา, มุมไบ ,เดนพาซา ธากา, ภูเก็ต

โบอิง 777-300ER    ปารีส, โตเกียว

ขอเชิญชมการขับเคลื่อนของเครื่องรุ่น Boeing 777-300ER โดยสารการบินแอร์นิวซิแลนด์
เครื่อง แอร์บัสรุ่น เอ 330-300 ของการบินไทย

สายการบินไทยใช้เครื่องรุ่นนี้ประจำการอยู่ประมาณ 15 ลำ โดยใช้บินในเส้นทางต่อไปนี้

มะนิลา,ภูเก็ต-ฮ่องกง,ฮ่องกง,ไทเป,กว่างโชว,เซี่ยงไฮ้,ปักกิ่ง,โฮจิมินต์, สิงคโปร์,จากาต้า,
กัลกัตตา,ไฮเดอราบัต,เดลลี,เชนไน,บังกาลอร์,โคลัมโบ ,อิสลามาแบด,การาจี-มัสกัต,การาจี,
ละฮอร์,ภูเก็ต,เดนพาซากัวลาลัมเปอร์เพิร์ธ-ภูเก็ต ,เพิร์ธ, นาโกยา, ฟูกูโอกะ

แอร์บัส เอ 340-500,เอ 340-600


เครื่องรุ่นแอร์บัส เอ 340-500 ของบริษัทแอร์บัส



เครื่องรุ่นแอร์บัส เอ 340-500 ของการบินไทย


เครื่องบินรุ่น แอร์บัส เอ 340-600

เครื่องบินรุ่น แอร์บัส เอ 340-600


เครื่องแอร์บัสรุ่น เอ 340-600 ของสายการบินประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกที่ผ่านมา


เครื่องแอร์บัสรุ่น เอ 340-600 ของบริษัทแอร์บัส


เครื่องแอร์บัสรุ่น เอ 340-600 ของการบินไทย


แผนผังและภายในห้องโดยสารของแอร์บัสรุ่น เอ 340-600
เนื่องจากมีถึง 4 เครื่องยนต์สามารถบินได้ระยะไกลข้ามมหาสมุทรได้
จุผู้โดยสารได้ประมาณ 262 ที่นั่งเนื่องจากเน้นความสะดวกสบายของผู้โดยสารเป็นหลัก

สายการบินไทยมีเครื่องรุ่นแอร์บัสเอ 340-500 -600 รวมทั้งสิ้น 10 ลำ ใช้บินเส้นทางต่อไปนี้

ลอสแอนเจลิส, ออสโลซูริค, ซิดนีย์,ซิดนีย์-บริสเบน,ฮ่องกง(ครั้งคราว),ดูไบ เซี่ยงไฮ้

เครื่องบินรุ่น ATR 72-500


รุ่น ATR 72-200 ใบพัดมี 4 กลีบ ส่วน ATR 72-500 มี 6 กลีบ
เครื่องบินรุ่น Boeing 717-200


เครื่องรุ่น แอร์บัส A 319-132
แอรบัส A 320-232 ของบางกอกแอร์เวย์ จุผู้โดยสารได้ 162 ที่นั่ง
ท่านสังเกตุเห็นได้ว่า แอร์บัส เอ 319 กับ เอ 320 ภายใน เอ 320
จะมีทีวีทุกที่นั่ง ภายนอกเหมือนกัน ที่ปลายปีกหน้าทั้งสองข้างจะมีลักษณะ
คล้ายหัวธนูติดอยู่ ซึ่งหัวธนูนี้ก็มีติดอยู่ที่ แอร์บัสลำล่าสุดคืิอ เอ 380ืั ที่ปลายปีก
ก็มีหัวลูกศรเช่นกัน หากสังเกตุไปเรื่อย ๆ ก็สามารถบอกได้ว่าเครื่องเป็นของ โบอิ้ง
หรือ เป็นของแอร์บัส ตอนนี้ยักษ์ใหญ่ก็เห็นมีอยู่ 2 บริษัทนี้เอง


เส้นทางการบิน

ประเทศไทย

    * กรุงเทพมหานคร - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฐานการบิน หลัก
    * เชียงใหม่ - ท่าอากาศยาน นานาชาติเชียงใหม่
    * ภูเก็ต - ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
    * เกาะสมุย - ท่าอากาศยานสมุย ฐาน การบิน
    * สุโขทัย - ท่าอากาศยานสุโขทัย
    * ตราด - ท่าอากาศยานตราด
    * กระบี่ - ท่าอากาศยานกระบี่
    * พัทยา - ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
    * ลำปาง - ท่าอากาศยานลำปาง

สาธารณรัฐประชาชนจีน

    * ฮ่องกง - ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง

ลาว

    * หลวงพระบาง - ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง

สิงคโปร์

    * สิงคโปร์ - ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี


มัลดีฟส์

    * มาเล่ - ท่าอากาศยาน นานาชาติมาเล่

กัมพูชา

    * พนมเปญ - ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ
    * เสียมราฐ - ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมเรียบ

พม่า

    * ย่างกุ้ง - ท่า อากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น