วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

panitplane

บริษัทที่ผลิตเครื่องบินพานิชย์ที่ใช้ขนส่งทั่วโลก
ในขณะนี้มีอยู่ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่คือ


โบอิ้ง (The Boeing Company)
เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและยุทโธปกรณ์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ชิคาโก
มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา โบอิงนับเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินที่มีรายได้มากที่สุดในโลก
และเป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์อันดับสองของโลก



บริษัทแอร์บัส (Airbus S.A.S.) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินในเมืองตูลูส (Toulouse)
ประเทศฝรั่งเศส แอร์บัสเกิดจากการรวมตัวของผู้ผลิตเครื่องบินและยุทโธปกรณ์รายใหญ่ของยุโรป 2 ราย
คือ European Aeronautic Defence and Space Company (EADS) (80%) และ BAE Systems
(British Aerospace) (20%) แอร์บัสมีพนักงานกว่า 4 หมื่นคน และมีโรงงานหลายแห่งในทวีปยุโรป


เครื่องบินโดยสารส่วนใหญ่แล้วทุกชาติล้วนแต่ซื้อเครื่องมาจากสองบริษัทนี้ เราลองมาดูกันว่า
ข้อแตกต่างที่มองเห็นได้ชัดของทั้งสองบริษัท แม้ว่าจะออกแบบมาในรุ่นใด ๆ ก็ตามก็ยังคง
เป็นเอกลักษณ์ให้เราทราบว่า เครื่องใดเป็นแบบ Boing และเครื่องใดเป็นแบบ Airbus  ดังนี้


ภาพนี้เป็นการเจิมเครื่องบินแบบแอร์บัส ชื่อ สุชาดา


ภาพนี้เป็นเครื่องบินแบบโบอิ้ง ชื่อ กาฬสินธุ์


เมื่อนำเครื่องทั้งสองลำมาเปรียบเทียบกันก็จะเห็นได้ชัดดังนี้ครับ

เครื่องแอร์บัสชื่อ สุชาดา  ให้ท่านมองไปที่กระจกหน้าของเครื่องบิน
บานท้ายสุดที่ติดกับลำตัวเครื่องใกล้เครื่องหมาย สตาร์ อัลไลแอนซ์
ด้านบนจะมีลักษณะเป็น เหมือนถูกตัดออกไป ทำให้เกิดรูปห้าเหลี่ยมด้านไม่เท่า
ซึ่งเครื่องแอร์บัสจะเป็นเช่นนี้ทุกรุ่น นอกจากนั้นสัญญลักษณืของแอร์บัสก็คือ ลักษณะคล้าย
หัวลูกศร ติดอยู่ที่ปลายปีหน้าทั้งสองข้าง แม้แต่ A380 ก็ยังมีลักษณะเช่นนี้ปรากฏอยู่


เครื่องโบอิ้งชื่อ กาฬสินธุ์ ให้ท่านมองไปที่กระจกหน้าของเครื่องบิน
บานสุดท้ายที่ติดกับลำตัวเครื่องใกล้เครื่องหมาย สตาร์ อัลไลแอนซ์
จะมีลักษณะเป็น รูปสี่เหลื่ียมด้านไม่เท่า ซึ่งเครื่องโบอิ้งจะเป็นเช่นนี้ทุกรุ่นเช่นกัน



กระจกทั้งด้าน ซ้าย-ขวา ของเครื่องบินแต่ละลำจะเหมือนกันทุกประการ

Boeing 777-200



ภาพเครื่องบินรุ่น Boeing 777-200 ปัจจุบันยังคงมีใช้บินประจำการ
ที่การบินไทย ความจุผู้โดยสาร 309 ที่นั่ง และ 292 ที่นั่ง ปัจจุบันมีประจำการอยู่จำนวน 13 ลำ
โดยใช้บินประจำการยังเมืองต่อไปนี้

โอซากา,มะนิลา,ไทเป-โซล,โซล,กาฏมัณฑุ,เดลลี,เชียงใหม่ ฮ่องกง-โซล มิลาน, บริสเบน, มอสโคว,
โอ๊คแลนด์, ซิดนีย์, โตเกียว, โตเกียว-ภูเก็ต,เอเธนส์,โจฮันเนสเบิร์ก ,สิงคโปร์,ดูไบ


Boeing 777-300 และ 777-300 ER


สภาพภายในเครื่องบิน Boeing 777-200,777-300
777-300ER ความจุผู้โดยสารได้เต็มที่ 364 ที่นั่ง
รุ่น Boeing 777-200,777-300 มีประตูฉุกเิฉินข้างละ 4 ประตู
ส่วน Boeing 777-300 ER มีประตูฉุกเฉินข้างละ 5 ประตู

เครื่องบินรุ่น Boeing 777-300
และ 300ER การบินไทยมีรวมทั้งสิ้น 9 ลำ ใช้บินไปยังเมืองต่าง ๆ คือ

โบอิง 777-300 เมลเบิร์น, โซล , จากาตา, มุมไบ ,เดนพาซา ธากา, ภูเก็ต

โบอิง 777-300ER    ปารีส, โตเกียว

ขอเชิญชมการขับเคลื่อนของเครื่องรุ่น Boeing 777-300ER โดยสารการบินแอร์นิวซิแลนด์
เครื่อง แอร์บัสรุ่น เอ 330-300 ของการบินไทย

สายการบินไทยใช้เครื่องรุ่นนี้ประจำการอยู่ประมาณ 15 ลำ โดยใช้บินในเส้นทางต่อไปนี้

มะนิลา,ภูเก็ต-ฮ่องกง,ฮ่องกง,ไทเป,กว่างโชว,เซี่ยงไฮ้,ปักกิ่ง,โฮจิมินต์, สิงคโปร์,จากาต้า,
กัลกัตตา,ไฮเดอราบัต,เดลลี,เชนไน,บังกาลอร์,โคลัมโบ ,อิสลามาแบด,การาจี-มัสกัต,การาจี,
ละฮอร์,ภูเก็ต,เดนพาซากัวลาลัมเปอร์เพิร์ธ-ภูเก็ต ,เพิร์ธ, นาโกยา, ฟูกูโอกะ

แอร์บัส เอ 340-500,เอ 340-600


เครื่องรุ่นแอร์บัส เอ 340-500 ของบริษัทแอร์บัส



เครื่องรุ่นแอร์บัส เอ 340-500 ของการบินไทย


เครื่องบินรุ่น แอร์บัส เอ 340-600

เครื่องบินรุ่น แอร์บัส เอ 340-600


เครื่องแอร์บัสรุ่น เอ 340-600 ของสายการบินประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกที่ผ่านมา


เครื่องแอร์บัสรุ่น เอ 340-600 ของบริษัทแอร์บัส


เครื่องแอร์บัสรุ่น เอ 340-600 ของการบินไทย


แผนผังและภายในห้องโดยสารของแอร์บัสรุ่น เอ 340-600
เนื่องจากมีถึง 4 เครื่องยนต์สามารถบินได้ระยะไกลข้ามมหาสมุทรได้
จุผู้โดยสารได้ประมาณ 262 ที่นั่งเนื่องจากเน้นความสะดวกสบายของผู้โดยสารเป็นหลัก

สายการบินไทยมีเครื่องรุ่นแอร์บัสเอ 340-500 -600 รวมทั้งสิ้น 10 ลำ ใช้บินเส้นทางต่อไปนี้

ลอสแอนเจลิส, ออสโลซูริค, ซิดนีย์,ซิดนีย์-บริสเบน,ฮ่องกง(ครั้งคราว),ดูไบ เซี่ยงไฮ้

เครื่องบินรุ่น ATR 72-500


รุ่น ATR 72-200 ใบพัดมี 4 กลีบ ส่วน ATR 72-500 มี 6 กลีบ
เครื่องบินรุ่น Boeing 717-200


เครื่องรุ่น แอร์บัส A 319-132
แอรบัส A 320-232 ของบางกอกแอร์เวย์ จุผู้โดยสารได้ 162 ที่นั่ง
ท่านสังเกตุเห็นได้ว่า แอร์บัส เอ 319 กับ เอ 320 ภายใน เอ 320
จะมีทีวีทุกที่นั่ง ภายนอกเหมือนกัน ที่ปลายปีกหน้าทั้งสองข้างจะมีลักษณะ
คล้ายหัวธนูติดอยู่ ซึ่งหัวธนูนี้ก็มีติดอยู่ที่ แอร์บัสลำล่าสุดคืิอ เอ 380ืั ที่ปลายปีก
ก็มีหัวลูกศรเช่นกัน หากสังเกตุไปเรื่อย ๆ ก็สามารถบอกได้ว่าเครื่องเป็นของ โบอิ้ง
หรือ เป็นของแอร์บัส ตอนนี้ยักษ์ใหญ่ก็เห็นมีอยู่ 2 บริษัทนี้เอง


เส้นทางการบิน

ประเทศไทย

    * กรุงเทพมหานคร - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฐานการบิน หลัก
    * เชียงใหม่ - ท่าอากาศยาน นานาชาติเชียงใหม่
    * ภูเก็ต - ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
    * เกาะสมุย - ท่าอากาศยานสมุย ฐาน การบิน
    * สุโขทัย - ท่าอากาศยานสุโขทัย
    * ตราด - ท่าอากาศยานตราด
    * กระบี่ - ท่าอากาศยานกระบี่
    * พัทยา - ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
    * ลำปาง - ท่าอากาศยานลำปาง

สาธารณรัฐประชาชนจีน

    * ฮ่องกง - ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง

ลาว

    * หลวงพระบาง - ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง

สิงคโปร์

    * สิงคโปร์ - ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี


มัลดีฟส์

    * มาเล่ - ท่าอากาศยาน นานาชาติมาเล่

กัมพูชา

    * พนมเปญ - ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ
    * เสียมราฐ - ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมเรียบ

พม่า

    * ย่างกุ้ง - ท่า อากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง

RTAF Gripen กองทัพอากาศไทย

F-5 นี่ใช้กันโด่งดังสมัยสงครามเวียดนามนู้นน

เริ่มแรกได้รับมอบจาก โครงการช่วยเหลือทางทหาร ตอนหลังจบสงครามเวียดนาม เริ่มต้นได้รับมอบ F5-B จำนวน 2 เครื่อง หนึ่งในนั้นเป็นรุ่น B เครื่องแรกของโลก(เพิ่งปลดประจำการไปไม่นานนี้เอง) และก็ได้รับมอบต่อๆมาอีก


ต่อมาประเทศไทยเริ่มจัดซื้อมาจากเมกา จำนวน 20 ลำ เป็นรุ่น E 17 ลำ รุ่น F 3 ลำ

และก็มีการจัดซื้อเรื่อยๆ จนมีมากกว่า 40 ลำ 

 

เครื่อง F-5 ในไทยเคยผ่านสมรภูมิใหญ่ๆมา 2 ครั้ง มีประหวัติการรบจริง เริ่มต้นจาก สมรภูมิเขาค้อ ที่ปราบปรามคอมมิวนิส เข้าทำหน้าที่โจมตีฐานของผู้นำการก่อการร้าย ครั้งนั้นสูญเสียเครื่อง F5-A ไปสองลำ นักบินเสียชีวิตทั้งคู่

ต่อมา สมรภูมิร่มเกล้า สู้กับลาว ได้ไปทิ้งระเบิด และถูกยิงสวนโดยจรวด SAM (ที่ขเมรมันขู่ว่าจะเอามาิยิง F 16 เราให้ตกอ่ะ) โดยที่ท้ายเครื่อง F-5B 1 เครื่อง แต่นักบินสามารถนำเครื่องบินลงมาจอดได้ ปัจจุบันได้ซ่อมแซมและบินต่อได้ (การซ่อมบำรุงของ ทอ. ไทย ถือว่าสุดยอดระดับโลกฝรั่งยังตะลึง)


Posted Image


ปัจจุบันประเทศไทยยังคงประจำการ F5 หลายๆรุ่นอยู่ แต่ก็ใกล้หมดอายุของมันแล้ว ตอนนี้กำลังทยอยปลด F5 รุ่น A B E ในต้นปีหน้านี้แล้ว และจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินระดับท็อปของโลกชนิดหนึ่งที่ชื่อ Gripen Jas-39 C/D นั้นเอง

 

Posted Image

พระเอกคนปัจจุบันของเรา F-16 A/B บ.ข.๑๙


ประเทศไทยมี F16 ประจำการ ณ ปัจจุบันอยู่ถึง 59 ลำ



เป็น Block 15 OCU ซะเกือบทั้งหมด จัดซื้อจากเมกา


มี 7 ลำที่ได้รับมอบ(ฟรี) จากกองทัพอากาศสิงคโปร์ จากการให้ไทยเช่ายืมสนามบินในการซ้อมรบและัประจำการเครื่องบิน


มีครั้งนึงไทยได้จัดหา F/A 18 C/D มาประจำการในไทย 8 ลำ ซื้อแล้วจ่ายตังแล้วผลิตแล้ว แต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจพอดี เลยขอให้เมกาซื้อสัญญาคืนกลับไป

 

ลยจัดหาเครื่อง F16 มือสองจาก เมกามาแทน เป็นรุ่น F16 Block 15 ADF (รบเวลากลางคืน)

ปัจจุบันไทยได้เริ่มทยอยอัพเกรด F16 เพื่อยืดอายุโครงสร้าง และ พัฒนาศักยภาพ ตามโครงการต่างๆ ตอนนี้ F 16 ไทยเปรียบเสมือนวันกลางคนแล้ว


ส่วนเรื่องวีรกรรมนี่ F16 ไทย สู้ F5 ไทย ไม่ได้ซักนิด เพราะไม่เคยผ่านสมรภูมิใหญ่ๆเลย มีแต่บินตรวจการ บินขู่ บินรักษาความสงบในช่วงเวลาคับขัน


F16 ไทยไม่เคยเกิดอุบัติเหตุถึงขั่นจำหน่าย(หมายถึงปลดประจำการ หรือพัง หรือตก นั้นแหละ) จนต่างประเทศยกย่องเลยว่ามีนิรภัยการบินที่สุดๆ

  

Posted Image

ในรูปนี้เป็นเครื่องของไทยนะครับ สร้างเสร็จแล้ว ได้ทำการ  First flight และ test flight ที่สวีเดนเรียบร้อยแล้วครับ


บ.ข.๒๐ Jas 39 Gripen C/D

ประเทศไทยต้องการเครื่องบินทดแทน F5 หลายลำที่กำลังจะปลดประจำการ เพราะแก่เกินแล้ววคุณปู่ จึงได้เริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินทดแทน โดยมีประเทศเข้าร่วมโครงการสามประเทศ มีเครื่องบินเข้าประกวดสามชนิด


F 16 C/D จากเมกา

SU 30 จาก รัซเซีย
Jas 39 Gripen จากสวีเดน

และไทยก็ได้เลือก Gripen จากเหตุผลที่ว่า F16 นั้นเมกาขายแบบแทบไม่ให้อะไรเราเลย อาวุทอะไรแทบไม่ยอมขายให้ ราคาเครื่องก็แพง เครื่องบินดีแต่อาวุทห่วยมันก็เท่านั้น

ส่วน su 30 จากรัซเซีย ลำใหญ่ กินน้ำมัน อัตราพร้อมรบต่ำ ค่าใช้จ่ายในการบินสูง อายุการใช้งานต่ำ ประเทศไทยไม่เคยประจำการเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่เลยด้วย ไม่ใช่ว่า SU30 ไม่ดีนะครับ เป็นสุดยอดเครื่องบินลำนึงของโลกเลยแหละ

ก็ตกลงปลงใจเลือก jas 39 Gripen มา


...อย่างที่เป็นข่าวว่า ทำไมไทยซื้อ Gripen แพงจัง เอาไปเทียบกับประเทศนู้นประเทศนี้ ก็พี่นักข่าวแกเล่นเอาราคาทั้งโครงการ หารด้วยจำนวนเครื่อง มันก็แพงสิครับพี่น้อง

ไทยได้จัดซื้อ Gripen แบบเป็น แพคเกจ และเป็นแพคเกจที่คุ้มสุดๆด้วย คือถ้าเอาของในแพคเกจมาแยกขาย สวีเดน ได้เยอะกว่านี้อีกเยอะครับ(สมมุติ ง่ายๆ ซื้อรถคันเดียว 1 ล้านบาท ได้แต่รถ แต่เราืซื้อ 6 คัน แต่ 10 ล้านบาท พร้อมชุดแต่งรอบคัน ออฟชั่นเสริมมากมาย พร้อมสร้างโรงจอดรถอีก + กับอะไหล่อีก แล้วยังให้ไปเรียนว่ามันสร้างมายังไงอีก แถมยังให้ข้อมูลการสร้างอีก ประมาณเนี้ย คุ้มป่ะหละครับ)

ประเทศไทยจัดซื้อ Gripen ทั้งหมด 12 ลำ โดยแบ่งเป็น เฟซแรก 6 ลำ เฟซ 2 อีก 6 ลำ เป็นรุ่น C 8 ลำ รุ่น D 4 ลำ
(รุ่น D คือสองที่นั่ง) เป็นของใหม่ทั้งหมด!!

 


บ.ขฝ.1  L-39 Albatros เครื่อง jet ฝึกบิน ครูของเหล่านักบิน F-16

Posted Image


L 39 เป็นเครื่องบินฝึกบินขับไล่ โจมตี ของกองทัพอากาศไทย เป็นบรรใดก้าวไปสู่นักบิน F-16 พูดง่ายๆก็คือ ใครจะบิน F 16 ได้ ต้องผ่านการบิน L 39 มาก่อนทั้งสิ้น และผู้ที่ทำคะแนนระดับสูงๆเท่านั้น

ถึงจะผ่านไปบินเครื่อง F 16 ต่อไป

L 39 ผลิตใน สาธารรัฐเชค ส่วนของไทย ถูกอัพเกรดโดย อิสราเอล ให้สามารถใช้อาวุธ NATO ได้
(อิสราเอล เจ้าพ่อ Upgrade)

ข้อมูลของเครื่อง L 39 ค่อนข้างมีน้อย เพราะเป็นเครื่องบินฝึก ประหวัติการรบในประเทศไทย ก็ไม่มีครับ


 
บ.ขฝ.1  L-39 Albatros เครื่อง jet ฝึกบิน ครูของเหล่านักบิน F-16
Posted Image

L 39 เป็นเครื่องบินฝึกบินขับไล่ โจมตี ของกองทัพอากาศไทย เป็นบรรใดก้าวไปสู่นักบิน F-16 พูดง่ายๆก็คือ ใครจะบิน F 16 ได้ ต้องผ่านการบิน L 39 มาก่อนทั้งสิ้น และผู้ที่ทำคะแนนระดับสูงๆเท่านั้น
ถึงจะผ่านไปบินเครื่อง F 16 ต่อไป

L 39 ผลิตใน สาธารรัฐเชค ส่วนของไทย ถูกอัพเกรดโดย อิสราเอล ให้สามารถใช้อาวุธ NATO ได้ (อิสราเอล เจ้าพ่อ Upgrade)

ข้อมูลของเครื่อง L 39 ค่อนข้างมีน้อย เพราะเป็นเครื่องบินฝึก ประหวัติการรบในประเทศไทย ก็ไม่มีครับ

บ.ข.๗ เครื่องบินโจมตีแบบที่ 7
Alpha Jet

Posted Image

ไทยได้นำ Alpha Jet มือสองจากเยอรมัน มาประจำการแทนเครื่อง ov-10 ที่เก่าแก่และกำลังจะปลดประจำการ(ปัจจุบันปลดไปหมดแล้ว บางส่วนส่งมอบให้ฟิลิปปิน ฟรี เพื่อให้เค้าไปใช้ในงานปราบผู้ก่อการร้าย)

ประเทศไทยได้สั่งซื้อจากเยอรมันมาจำนวน 25 ลำ โดยใช้งานจริง 20 ลำ และเป็นอะไหล่ 5 ลำ จัดซื้อมาลำละ 1 ล้านบาท (ถูกกว่ารถบางคันอีก)

ถึงจะเป็นเครื่องบินมือสอง แต่เป็นเครื่องบินที่เยอรมันปลดประจำการเนื่องจากต้องการปรับลด กำลังรบ สืบเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ จึงได้ปลดประจำการและเก็บรักษาใว้อย่างดี เนื่องจากเป็นเครื่องบินที่เพิ่งผ่านอายุการใช้งานมาเพียง 2000 ชั่วโมงบิน ซึ่ง Alpha jet สามารถใช้งานได้ถึง 10000 ชั่วโมงบินเลยทีเดียว เท่ากับว่าสามารถใช้งานได้อีกเกิน 20 เลย

แต่การส่งมอบได้มีเครื่อง Alpha jet ตกไป 1 ลำ เนื่องจากนักบินเกิดอาการ หลงฟ้า

 

จะมาต่อกันด้วย เครื่องบินขับไล่ ที่ถูกปลดประจำการไปแล้วนะครับ

บ.ข.๑๗  F-86 Saber
Posted Image

ประจำการใน ทอ. ไทย ในปี พ.ศ.2504 - 2515
โดยได้รับมอบจากโครงการช่วยเหลือทางการทหาร จากสหัรฐอเมริกา(ให้มาแต่เครื่องกับเรดาห์ กับจรวดธรรมดาๆ ไม่นำวิถี ของดี พี่กันแกถอดเก็บไปหมด)

แต่มีใช้ในประัจำการได้เพียงไม่กี่ปีเนื่องจาก ระบบ และ เทคโนโลยีของ F 86 ในสมัยนั้น เหนือกว่าไทยมาก จนทำให้ช่างไทย ซ่อมบำรุงกันไม่ใหว
ตลอดจนมีปัญหากับสภาพอากาศในประเทศไทยด้วย

แต่ F 86 ก็ได้ผ่านสงครามปราบปรามคอมมิวนิสร่วมกับ F-5 ด้วย จึงถือว่าได้ร่วมรบจริงมาเหมือนกัน
 

kjhghjk

บจ.๑ VOUGHT CORSAIR V-93

ประจำการ.............บรรจุประจำการใน ทอ. ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ – ๒๔๙๐


รูปภาพ: 1.jpg
บจ. ๒ นาโกย่า ( Ki-30 NAGOYA )
ประจำการ.............บรรจุประจำการใน ทอ. ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ –
รูปภาพ: 2.jpg
บจ. ๓ เอสบี- ๒ ซี ( SB -2 C )
ประจำการ.............บรรจุประจำการใน ทอ. ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ – ๒๔๙๘
รูปภาพ: 3.jpg
บจ. ๔ ไฟร์ฟราย เอฟ / เอฟอาร์
ประจำการ.............บรรจุประจำการใน ทอ. ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ – ๒๔๙๘
รูปภาพ: 4.jpg
นอร์ทอเมริกัน ที-๒๘ ดี โทรจาน
ประจำการ................ใน กองทัพอากาศไทย พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๒๗
รูปภาพ: 7.jpg
( บ.จล.๒ ) เอซี-๔๗ สปุกกี้ ( AC-47 SPOKKY )
ประจำการ.............บรรจุประจำการใน ทอ. ๒๕๐๙ – ๒๕๒๙
รูปภาพ: 6.jpg
บจ.ธ.๒ เอยู ๒๓ เอ ( AU -23 A )
ผู้สร้าง....................บริษัทแฟร์ไซรด์ สหรัฐฯ
ประเภท...................เครื่องบินธุรการ , โจมตีและใช้งานทั่วไป
เครื่องยนต์...............เครื่องยนต์เทอร์โบใบพัด การ์เรทท์-แอร์รีเสิร์ช์ ทีพีอี-๓๓๑-๑-๑๐๑ เอฟ ให้กำลัง ๖๕๐ แรงม้า ๑ เครื่อง
กางปีก....................๔๙.๘ ฟุต
ยาว.........................๓๖.๑๐ ฟุต
สูง..........................๑๒.๓ ฟุต
อัตราเร็วสูงสุด..........๒๘๒ กม.ต่อชม.
เพดานบิน.................๒๒,๘๐๐ ฟุต
พิสัยบินสูงสุด...........๘๙๘ กม.
อาวุธ.....................@ปืนมินิกัน เอ็มเอ๊กซ์ยู-เอ ๗๐/เอ ยิงทางด้านข้าง สองกระบอก พร้อมกระสุน ๒,๐๐๐ นัดในห้องโดยสาร
ประจำการ................
บ.จ.๗ อัลฟ่าเจ็ต ติดจรวดอากาศสู่อากาศไซไวน์เดอร์ และชาร์ฟ แฟร์

...ในช่วงปี ๒๕๔๘ - ๒๕๔๙ กองทัพอากาศ โดยกรมสรรพวุธทหารอากาศ และกองบิน ๒๓ อุดรธานี ทำการทดลองติดระบบป้องกันตนเองของ ALPHAJET โดยการติดอาวุธปล่อย อากาศสู่อากาศ ไซน์ไวน์เดอร์ ที่ใต้ปีกทั้งสองข้าง และดัดแปลงติดอุปกรณ์ปล่อยเป้าลวงอาวุธนำวิถี ด้วยความร้อน (แฟร์) และอาวุธปล่อยนำวิถีด้วยเรดาร์ (ชาร์ฟ)
รูปภาพ: 5.jpg
กองทัพอากาศน้อมเกล้าถวายเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ต

กองทัพอากาศน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตเพื่อใช้ปฏิบัติฝนหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๗๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ (ALPHA JET)จำนวน ๒ เครื่องเพื่อใช้เป็นเครื่องบินสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และในโอกาสเดียวกันนี้กองทัพอากาศ จะได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๑ ค (BOEING 737-800) ซึ่งกองทัพอากาศได้จัดให้เป็นเครื่องบินพระราชพาหนะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์
รูปภาพ: 11.jpg
ALPHA JET ติด ไซไวเดอร์

ALPHA JET ของ ทอ.ไทย ติดจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบ AIM-9 ไซไวเดอร์ ซึ่งการติดตั้งระบบจรวดนำวิถีนี้เป็นการพัฒนาขึ้นเองโดยกองทัพอากาศ
รูปภาพ: 12.jpg



AU-23A ติดกล้อง เพื่อใช้งานในภาคใต้

เครื่องบินโจมตีแบบ AU-23 A ได้รับการดัดแปลงติดตั้งกล้องตรวจการพิเศษ เพื่อใช้งานในภาคใต้ นอกจากนี้ช่วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา...ซึ่งมีเหตุการณ์ชุมนุมของคนเสื้อแดง...ศอฉ. ได้จัดเครื่องบินแบบนี้มาทำการบินลาดตระเวนเหนือเป้าหมายเพื่อส่งข้อมูลให้ ศอฉ. วางแผนการปฏิบัติงาน...ซึ่งถือว่าใช้งานได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ
รูปภาพ: 13.jpg
บจ.๔ รุ่นลาดตระเวน (ฝึก) และรุ่นโจมตีภาพเปรียบเทียบระหว่าง บ.ไฟร์ฟราย เอฟ รุ่นโจมตี และ ไฟร์ฟราย เอฟอาร์ รุ่นที่ปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวน โจมตี และฝึก (ภาพล่าง)
รูปภาพ: 9.jpg
บ.จ.๔ ไฟร์ฟราย เอฟอาร์

บ.จ.๔ ไฟร์ฟราย เอฟอาร์ (จะสังเกคุห้องนักบินหลังจะยกสูงขึ้นกว่าห้องนักบินที่ ๑)
รูปภาพ: 10.jpg
 




 

 

อีกหน้า









ประวัติการบินของประเทศไทย

   การบินเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่สมัยที่เรายังใช้ช้างเป็นพาหนะสำคัญในการขนส่งทางบก และมีเรือพายเรือแจวแล่นลอยเต็มลำน้ำลำคลอง ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โดยมีนักบินชาวเบลเยี่ยมคือ นายวัลเดน เบอร์น (Vanden Born) ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลล์ ไรท์ (Orwille Wright) มาสาธิตการบินถวายให้ทอดพระเนตร และให้ประชาชนในกรุงเทพฯ ชม เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2454 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร ปทุมวัน
      นับเป็นเครื่องบินลำแรกที่บินเข้ามาในราชอาณาจักร โดย นายพลตรีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน (พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน)ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และจเรทหารช่างแห่งกองทัพบกได้ทรงเป็นผู้โดยสารที่ขึ้นบินทดลองชุดแรก เมื่อเสร็จการแสดงแล้วได้ทรงซื้อเครืองบินนั้นไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา และในปี พ.ศ. 2454 นั้นเอง กระทรวงกลาโหม ได้ส่งนายทหารไทย 3 นาย ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส เมืองวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454ได้แก่
นายพันตรีหลวงศักดิ์ ศัลยาวุธ (นายสุณี สุวรรณประทีป)
นายร้อยเอกหลวงอาวุธ สิขิกร (นายหลง สิน-ศุข)
และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต
history06 (10K)
                   history04 (7K)       

      เมื่อนายทหารทั้ง 3 นาย จบการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงให้จัดซื้อเครื่องบินบรรทุกเรือกลับมาประเทศไทย จำนวน 8 ลำ เป็นเครื่องบินที่ทางราชการซื้อ 7 ลำ และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซื้อให้ทางราชการ 1 ลำ หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งแผนกการบินทหารโดยใช้สนามราชกรีฑาสโมสรเป็นสนามบิน และสร้างโรงเก็บเครื่องบินขึ้นในบริเวณนั้น และในปี พ.ศ. 2457 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการก่อสร้างสนามบินดอนเมืองแล้วเสร็จ เพื่อเป็นสนามบินที่ใช้ในกิจการทหาร และได้เลื่อนฐานะแผนกการบินทหารยกขึ้นเป็นกรม และได้เคลื่อนย้ายจากสนามราชกรีฑาสโมสรไปสู่ที่ตั้งใหม่ที่ดอนเมืองจนถึงปี พ.ศ. 2491 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เข้ามาอยู่ในการควบคุมดูแลของกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ (และในปี พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานกรุงเทพ แต่ยังคงสังกัดกองทัพอากาศอยู่) ท่าอากาศยานดอนเมืองให้เป็นสนามบินหลักของประเทศ และได้รับการพัฒนาสร้างเสริมต่อเติมมาจนกระทั่งปัจจุบัน
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น และใน พ.ศ. 2461 ไทยได้ส่งทหารอาสาเข้าร่วมการรบด้วย 300 คน ทหารอาสาของไทยได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่อการขับเครื่องบินและเลยไปถึงการสร้างเครื่องบินจากทหารฝรั่งเศส เมื่อสิ้นสงครามโลกปรากฏว่าไทยมีนักบินที่มีคุณสมบิตครบถ้วนมากกว่า 100 คน ประชาชนชาวไทยต่างพร้อมในกันบริจาคเงินซื้อเครื่องบินให้กับทางราชการ (กระทรวงกลาโหม) ได้รับเงินบริจาคเป็นจำนวนมากจากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยใช้ชื่อของจังหวัดที่บริจาคเงินเป็นชื่อของเครื่องบินได้เป็นจำนวนมากถึง 31 ลำ
      เมื่อ พ.ศ. 2462 ได้มีการทดลองทำการบินรับส่งไปรษณีย์ระหว่างกรุงเทพฯ กับจันทบุรีด้วยเครื่องบินเบรเกต์ (Breguet XIV) ซึ่งเป็นเครื่องบินทหารที่ได้ดัดแปลงมาใช้งานขนส่งทางอากาศ นับว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้ามาสู่การบินก่อนหน้าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ การทดลองทำการบินได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ต่อมาจึงได้มีการขนส่งผู้โดยสารในเส้นทางนี้ด้วย

      history05 (7K)            history04 (7K)